โดยมีอาการหลัก 3 อาการ ดังนี้
- รู้สึกสูญเสียพลังงาน มีภาวะอ่อนเพลียเวลาทำงาน
- มีความรู้สึกต่อต้านและมองตนเองในทางลบ ขาดแรงจูงใจในการทำงาน
- มีปฏิสัมพันธ์ในการทำงานที่แย่ลง
คนทำงานอาจเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหมดไฟหากรู้สึกว่า-ภาระงานหนัก ต้องทำในเวลาเร่งรีบ
- ขาดอำนาจในการตัดสินใจ และมีปัญหาการเรียงลำดับความสำคัญของงาน
- ไม่ได้รับการตอบแทน หรือรางวัลที่เพียงพอต่อสิ่งที่ได้ทุ่มเทไป
- รู้สึกไร้ตัวตนในที่ทำงาน หรือไม่เป็นส่วนหนึ่งของทีม
- ไม่ได้รับความยุติธรรม ขาดความเชื่อใจ
- ระบบบริหารในที่ทำงานที่ขัดต่อคุณค่าและจุดมุ่งหมายในชีวิตของตนเอง
การดูแลตนเองเบื้องต้นในภาวะ Burnout Syndrome
พยายามแบ่งย่อยงานออกเป็นส่วนๆ เริ่มจากงานที่ง่ายกว่าแล้วไปต่อที่งานที่ยากกว่า และให้เครดิตชื่นชมตนเองเมื่อทำงานสำเร็จ
ทำให้ตัวเองรู้สึกบวกบ้าง ใช้เวลาว่างเพื่อคิดเรื่องดีๆ ในชีวิตนอกเหนือจากการคิดแต่เรื่องของงาน พยายามเขียนสิ่งที่คุณรู้สึกขอบคุณอย่างน้อย 3 อย่างในแต่ละวัน
ท้าทายความคิดคุณ โดยเริ่มมีสติสำรวจความคิดด้านลบที่เกิดขึ้นต่องานที่ทำอยู่ ตรวจสอบความเป็นไปได้ของความคิดเชิงลบ เชื่อมั่นในตนเองว่าสามารถทำได้ หรือทำได้เต็มที่แล้วและปรับความคิดให้เป็นบวกมากขึ้น
กระฉับกระเฉงให้มากขึ้น ความกระตือรือร้นช่วยเผาผลาญพลังงานลบในสมองได้ แม่จะไม่ทำให้ความเครียดของคุณหายไปในทันที แต่สามารถทำให้เครียดน้อยลงได้
วางแผนล่วงหน้า เพื่อจัดการกิจกรรมตึงเครียดที่กำลังจะเกิดขึ้น เช่น รายการสิ่งที่ต้องทำ การเดินทางที่คุณต้องไป สิ่งที่คุณต้องใช้งาน
คุยกับใครสักคน เช่น เพื่อนที่ไว้ใจได้ สมาชิกในครอบครัว เพื่อนร่วมงาน
ถ้าหากคนทำงานเริ่มมีอาการเศร้า หดหู่ เบื่อหน่ายสิ่งรอบตัว รู้สึกทุกข์ทรมานกับการใช้ชีวิต หรือมีความคิดไม่อยากมีชีวิตอยู่ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ อย่าปล่อยให้กลายเป็นโรคซึมเศร้าไปโดยที่คุณไม่รู้ตัว
บทความด้านสุขภาพ
- ทานอาหารเย็นอิ่มมาก ควรนอนท่าไหน ช่วยในเรื่องสุขภาพ
- 5 สัญญานบ่งบอกว่าคุณมีบุคลิกลักษณะนิสัยแบบ Ambivert
- ประโยชน์ของน้ำ การดื่มน้ำเปล่าเป็นประจำดีต่อร่างกายอย่างไร